บริษัทจะเจ๊ง ทำอย่างไรดี? ธุรกิจจะเจ๊ง จะแก้ไขยังไงดี? แนวทางประคองธุรกิจที่คุณนำไปใช้ได้เลย!
หากบริษัทหรือธุรกิจของคุณกำลังประสบปัญหาจากปัจจัยภายนอกเช่น สภาพเศรษฐกิจหรือวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้คุณต้องการเงินสดเพื่อประคองธุรกิจ สิ่งที่คุณควรทำก็คือ
1) ลดสต็อกออกไปให้เร็วที่สุด กำจัดสินค้าคงคลังออกไปให้เร็วที่สุด ยิ่งสินค้าเป็นสินค้าตามเทรนหรือตามยุคสมัย หรือตามฤดูกาล ให้รีบขายตัดสต็อกออกให้เร็วที่สุดถึงแม้จะขาดทุนก็ตาม หลายคนเสียดายที่ต้องขาดทุนแต่การเก็บสินค้าเหล่านี้ไว้มีค่าเก็บรักษา ค่าเสียโอกาสในด้านการเงิน ยังไม่รวมถึงราคาที่ลดลงจากการเสื่อมค่าหรือสินค้าไม่เป็นที่นิยมอีกแล้วตามยุคสมัยหรือฤดูกาล หรือเทคโนโลยีความก้าวหน้าที่เปลี่ยนไป จุดสำคัญคือให้รีบกำจัดสต็อกส่วนนี้ออกไปให้เร็วที่สุดถึงแม้จะต้องขาดทุนไปก็ตาม ฝ่ายขายของคุณจึงเป็นเป็นในเวลานี้เป็นอย่างมาก คุณต้องผลักดันและส่งเสริมฝ่ายขายของคุณให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุด
2) พิจารณาลดจำนวนพนักงานในหน่วยงานที่ไม่จำเป็นลง คุณอาจจะต้องเจ็บปวดที่ต้องลดจำนวนพนักงานของคุณลง คุณจำเป็นต้องชดเชยให้พวกเขาตามกฎหมายหรือเงินเดือนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อให้พวกเขาได้ตั้งตัวหรืออยู่ได้ในช่วงหางานใหม่ คุณต้องบอกถึงสถานการณ์ของธุรกิจหรือบริษัทของคุณให้เขาทราบ
3) หน่วยงานขายเป็นหน่วยงานที่คุณต้องทำให้เข้มแข็งขึ้นและเน้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยิ่งสภาวะวิกฤตคุณต้องยิ่งเค้นประสิทธิภาพของทีมขายของคุณให้ได้เต็มที่ที่สุด เพราะหากขาดรายได้เข้าธุรกิจของคุณอย่างเพียงพอแล้วการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายก็จะไม่มีประโยชน์อะไร ต้นทุนการหาลูกค้าผู้มุ่งหวังจะแพงขึ้นเพราะฉะนั้นการปิดการขายให้ได้จึงเป็นเรื่องสำคัญเพราะการเปิดการขายได้มากขึ้นก็หมายถึงการได้รายได้เข้ามามากขึ้น
4) ความสามัคคีของทุกคนในบริษัทหลังมีการปรับเปลี่ยนบริษัท ขวัญกำลังใจและแนวทางที่ชัดเจนของผู้บริหารมีส่วนสำคัญ หากคุณไม่เก่งด้านการสื่อสารคุณจำเป็นต้องฝึกหัดและเป็นผู้นำคนของคุณให้ได้และจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่เป็นศูนย์กลางของทุกคนให้ได้ ความร่วมมือร่วมใจกันจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมของบริษัทดีขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจำเป็นต้องหาวิธีที่จะเข้าถึงพนักงานให้ได้ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับทุกคนในบริษัท
5) หาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวเข้ามาหมุนเวียนในบริษัท/ธุรกิจ ขอให้เป็นแหล่งเงินทุนของรัฐหรือสถาบันการเงินในระบบเท่านั้น ผมยังไม่เคยเห็นใครที่กู้นอกระบบดอกเบี้ยแพงๆแล้วประสบความสำเร็จในธุรกิจได้เลยเพราะมันเหมือนการแทงล็อตเตอรี่มากกว่าเพราะดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบนั้นแพงเกินกว่าที่ธุรกิจทั่วไปจะมีกำไรได้แม้ในสภาวะที่ดีอยู่ก็ตาม การกู้เงินนอกระบบมีแต่จะทำให้คุณจมลงไปกับหนี้สินที่พอกพูนอย่างทวีคูณ
6) จัดการกับหนี้ที่มีอยู่ อาจจะจำเป็นต้องขอเครดิตจาก supplier ของคุณยาวนานขึ้นและขอเก็บเงินจากลูกค้าคุณเร็วขึ้น (ลดเครดิตการค้าให้สั้นลง) เพื่อลดเงินหมุนเวียนที่จำเป็นในการทำธุรกิจลง รวมถึงการกำจัดหนี้ที่มีต้นทุน (ดอกเบี้ยเงินกู้) สูงก่อน การขอปรับเงื่อนไขการใช้คืนหน้ากับธนาคารหรือการรีไฟแนนซ์ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงสั้นๆลงได้
7) โฟกัสในเรื่องที่จำเป็นต่อธุรกิจก่อน เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นให้ตัดออกไปก่อน ขอให้คุณศึกษาให้ดีว่ายอดขายปัจจุบันของคุณนั้นหลักๆมาจากช่องทางไหนและอะไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับยอดขายนั้นหรือช่องทางการขายนั้นๆก็ให้คุณตัดออกไปก่อนและมาส่งเสริมช่องทางการขายนั้นๆเต็มที่เพื่อลดการเสียเวลาไปกับสิ่งอื่นๆที่อาจจะไม่ได้มีผลต่อการสร้างยอดขายของบริษัท
8) พิจารณาจ้างที่ปรึกษาที่เก่งที่จะมาช่วยคุณได้ เพราะคนนอกอาจจะมองอะไรออกมากกว่าคุณที่อยู่ภายใน การมองจากด้านนอกเข้ามาอาจจะเห็นอะไรมากกว่าการมองจากคนในบริษัทเอง การบริหารบริษัทไม่มีสิ่งหรือแนวทางไหนที่ถูกต้อง 100% แต่ประสบการณ์ของที่ปรึกษาไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาที่คุณต้องจ้าง หรือที่ให้คำปรึกษาฟรีเช่น ธนาคารหรือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานราชการที่ส่งเสริม SME เป็นต้น ซึ่งอาจจะให้คำปรึกษาที่มีค่าให้กับคุณฟรีๆ สิ่งที่คุณต้องระวังคือการที่คุณเอาแนวคิดที่คุณอาจจะคิดว่าดีแต่จริงๆแล้วกลับสร้างปัญหาให้กับคุณมาใช้หรือนำมาใช้ผิดหลักการ หรือไม่ถูกจังหวะเวลา ดังนั้นผมจึงเน้นที่การหาคนหรือจ้างที่ปรึกษาเก่งๆ มีประสบการณ์จริงมาให้คำปรึกษากับคุณจะดีกว่า
9) การหาแหล่งเงินทุนจากการหาผู้ร่วมทุนใหม่ๆ หาบริษัทที่จะเข้ามาควบรวมกิจการ หรือขายหุ้นของบริษัทบางส่วนให้กับผู้ที่สนใจจะมาร่วมลงทุน บางครั้งการที่คุณมีคนเข้ามาร่วมจัดการบริษัทของคุณอาจจะทำให้บริษัทของคุณดีขึ้นก็เป็นได้ โดยเฉพาะบริษัทที่เข้ามาร่วมทุนกับคุณเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจและเงินทุนหมุนเวียนที่จะช่วยเหลือกิจการคุณได้ การควบรวมกิจการก็จำเป็นจะต้องมีที่ปรึกษาทั้งทางด้านบัญชีการเงินรวมถึงทางด้านกฎหมาย (ทนายความ) ด้วย
10) หันกลับมาใส่ใจกับลูกค้าเก่าของคุณ ขายสินค้าใหม่ๆหรือสินค้าแบบเดิมให้กับลูกค้าเก่าของคุณ อาจจะทำข้อเสนอพิเศษในฐานะลูกค้าเก่าของคุณ หรือนำเสนอสินค้าใหม่ๆที่จะมีประโยชน์กับลูกค้าเก่าของคุณเพื่อเพิ่มยอดขายโดยรวมขึ้น
11) ปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือการบริการของคุณ อย่าลืมว่าคุณอาจจะลองติดต่อ supplier หลายๆเจ้าให้เข้ามานำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาการผลิตหรือการบริการของคุณได้ เช่น ถ้าคุณทำโรงงานผลิตสินค้าอยู่ คุณอาจจะลองโทรไปให้ทาง Supplier ที่ขายระบบเครื่องจักรที่ทำงานแทนคน หรือ solution เพื่อลดต้นทุนการผลิตมานำเสนอคุณซึ่งอย่างน้อยคุณจะได้ไอเดียดีๆไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการผลิตหรือการบริการของคุณได้เลยเพราะบางครั้งประสบการณ์ของ supplier ที่ได้เคยเห็นหรือมีประสบการณ์จากลูกค้าคนอื่นๆของพวกเขาก็อาจจะช่วยให้คุณมีไอเดียดีๆที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตหรือลดต้นทุนการผลิตหรือการบริการของคุณลงได้
12) พิจารณาตัดงานบางงานให้ subcontractor ทำแทน เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายหรือลดการเสียเวลาการทำงานบางงานลงไปเพื่อไปทุ่มเวลาให้กับการทำงานในส่วนอื่นที่จำเป็นของธุรกิจของคุณ
13) อย่าลืมว่าการทำอะไรเหมือนๆๆเดิมแล้วคาดหวังผลที่ต่างไปจากเดิมก็ไม่ต่างจากคนเสียสติ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงออกจาก comfort zone ของคุณ ยิ่งคุณเลิกกังวลแล้วตัดใจว่าคุณต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำสิ่งที่คุณไม่เคยทำแต่คุณจะพยายามทำมันอย่างเต็มที่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณแก้ปัญหาธุรกิจของคุณได้ การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดเดิมๆของคุณ ก้าวออกจาก comfort zone ของคุณ เลิกหวังที่จะพึ่งคนอื่นแล้วหันมาสู้ด้วยตัวของคุณเอง คุณต้องทำตัวเป็นผู้นำที่มีความเชื่อมั่นที่ทั้งลูกน้องของคุณ supplier ของคุณและลูกค้าของคุณจะมั่นใจและเชื่อมั่นได้ เพราะหากผู้นำขาดสิ่งนี้ทุกอย่างที่ผมได้แนะนำไปก็จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ผมยกตัวอย่างบริษัทใหญ่ๆเช่น General Motor ก็มีการเปลี่ยน CEO ที่มีวิสัยทัศน์ในการนำบริษัทต่างจากผู้นำคนก่อนๆเข้ามาบริหารงานแทนเพื่อจะลดการขาดทุนของบริษัทและพลิกฟื้นบริษัทให้มีกำไรได้
14)